แนวคิดและหลักการของการวางแผนเชิงกลยุทธ์
การกำหนดวิสัยทัศน์
ภารกิจ วัตถุประสงค์และเป้าหมาย
เรื่องการวางแผนเชิงกลยุทธ์
SWOT
Strategic
Planning
อาจารย์
ดร.วนิดา ชุมนุม
___________________________________________________________________________
จากการอบรม
เรื่องการวางแผนเชิงกลยุทธ์ SWOT Strategic Planning ดิฉันได้รับความรู้หลายอย่างเกี่ยวกับ SWOT ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมากในอนาคตการทำงานของดิฉัน
ดิฉันสามารถอธิบายโดยสรุปเกี่ยวกับ
SWOT ได้ดังนี้
SWOT คืออะไร?
SWOT คือ หลักการบริหารงานทั้งภาครัฐและภาคธุรกิจเอกชน
การประเมินและวิเคราะห์สถานภาพขององค์กรเพื่อกำหนดยุทธศาสตร์การบริหารเป็นสิ่งสำคัญและมีความจำเป็น
เพราะนอกจากจะทำให้ผู้บริหารทราบถึงความเปลี่ยนแปลงต่างๆที่เกิดขึ้นแล้ว
การวิเคราะห์องค์กรยังเป็นการกำหนดกรอบการทำงานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามที่ตั้งเป้าหมายไว้โดยใช้ทฤษฎีที่เรียกว่า
SWOT มาเป็นเครื่องมือในการประเมินสถานการณ์
แนวคิดของ SWOT Analysis
SWOT Analysis เป็นการวิเคราะห์สภาพองค์การ หรือหน่วยงานในปัจจุบัน เพื่อค้นหาจุดแข็ง
จุดเด่น จุดด้อย หรือสิ่งที่อาจเป็นปัญหาสำคัญในการดำเนินงานสู่สภาพที่ต้องการในอนาคต
SWOT เป็นตัวย่อของ

Strengths
หมายถึง
จุดแข็งหรือข้อได้เปรียบ
Weaknesses หมายถึง จุดอ่อนหรือข้อเสียเปรียบ
Opportunities
หมายถึง โอกาสที่จะดำเนินการได้
Threats หมายถึง อุปสรรค ข้อจำกัด หรือปัจจัย
ที่คุกคามการดำเนินงานของ องค์การ
ใช้
SWOT
วิเคราะห์ปัญหาอย่างไร…?
ใช้หลักการ SWOT
ในการวิเคราะห์ปัญหานั้นจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
1.
การวิเคราะห์จากปัจจัยภายใน (Internal analysis) โดยเป็นการวิเคราะห์จากจุดแข็งและจุดอ่อนขององค์กร
2.
การวิเคราะห์จากปัจจัยภายนอก (External analysis) โดยเป็นการวิเคราะห์จากโอกาสและอุปสรรค
ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับสังคม การเมือง ประชาชน เศรษฐกิจ เป็นต้น
โดยในการวิเคราะห์ตามหลักการ SWOT
ที่ถูกต้องนั้นต้องหาจุดแข็งเพื่อลบจุดอ่อน
รวมถึงหากลยุทธ์สร้างความแข็งแกร่ง ภายใต้โอกาสที่เกิดขึ้น
เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบจากอุปสรรคต่างๆ
ดังนั้น SWOT จึงเป็นหลักการวิเคราะห์และวางแผนการทำงานขององค์กร
เพื่อให้บรรลุความสำเร็จและมีประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้น ซึ่งในการวิเคราะห์นั้นต้องวิเคราะห์จากปัจจัยภายในได้แก่
จุดแข็งและจุดอ่อนขององค์กร รวมถึงปัจจัยภายนอกได้แก่ โอกาสและอุปสรรค
เพราะนอกจากจะสามาระแก้ไขปัญหาภายในและภายนอกองค์กรได้แล้ว
ยังทำให้องค์กรมีประสิทธิภาพการทำงานที่ดียิ่งขึ้นอีกด้วย
หลักการสำคัญของ
SWOT
ก็คือการวิเคราะห์โดยการสำรวจสภาพแวดล้อม
2 ด้าน ได้แก่สภาพแวดล้อมภายในและสภาพแวดล้อมภายนอก
ซึ่งเป็นการวิเคราะห์จุดแข็งจุดอ่อน เพื่อให้รู้ตนเอง (รู้เรา) รู้จักสภาพแวดล้อม
(รู้เขา) ชัดเจน และวิเคราะห์โอกาส-อุปสรรค
การวิเคราะห์ปัจจัยต่าง ๆ ทั้งภายนอกและภายในองค์กร
ซึ่งจะช่วยให้ผู้บริหารขององค์กรทราบถึงการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ
ที่เกิดขึ้นภายนอกองค์กร
ทั้งสิ่งที่ได้เกิดขึ้นแล้วและแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงในอนาคต
รวมทั้งผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ที่จะมีผลต่อองค์กร และจุดแข็ง จุดอ่อน
และความสามารถด้านต่าง ๆ ที่องค์กรมีอยู่
ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อการกำหนดวิสัยทัศน์
การกำหนดกลยุทธ์และกิจกรรมดำเนินการขององค์กรที่เหมาะสมต่อไป
ประโยชน์ของการวิเคราะห์
SWOT
การวิเคราะห์ SWOT
เป็นการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมต่าง ๆ ทั้งภายนอกและภายในองค์กร
ซึ่งปัจจัยเหล่านี้แต่ละอย่างจะช่วยให้เข้าใจได้ว่ามีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงานขององค์กรอย่างไร
จุดแข็งขององค์กรจะเป็นความสามารถภายในที่ถูกใช้ประโยชน์เพื่อการบรรลุเป้าหมาย
ในขณะที่จุดอ่อนขององค์กรจะเป็นคุณลักษณะภายในที่อาจจะทำลายผลการดำเนินงาน
โอกาสทางสภาพแวดล้อมจะเป็นสถานการณ์ที่ให้โอกาสเพื่อการบรรลุเป้าหมายองค์กรในทางกลับกันอุปสรรคทางสภาพแวดล้อมจะเป็นสถานการณ์ที่ขัดขวางการบรรลุเป้าหมายขององค์กร ผลจากการวิเคราะห์ SWOT
นี้จะใช้เป็นแนวทางในการกำหนดวิสัยทัศน์ การกำหนดกลยุทธ์
เพื่อให้องค์กรเกิดการพัฒนาไปในทางที่เหมาะสม
ขั้นตอนวิธีการดำเนินการทำ
SWOT
Analysis
การวิเคราะห์ SWOTจะครอบคลุมขอบเขตของปัจจัยที่กว้าง ด้วยการระบุจุดแข็ง จุดอ่อน
โอกาสและอุปสรรคขององค์กร ทำให้มีข้อมูล
ในการกำหนดทิศทางหรือเป้าหมายที่จะถูกสร้างขึ้นมาบนจุดแข็งขององค์กร
และแสวงหาประโยชน์จากโอกาสทางสภาพแวดล้อม และสามารถ
กำหนดกลยุทธ์ที่มุ่งเอาชนะอุปสรรคทางสภาพแวดล้อมหรือลดจุดอ่อนขององค์กรให้มีน้อยที่สุดได้
ภายใต้การวิเคราะห์ SWOT นั้น
จะต้องวิเคราะห์ทั้งสภาพแวดล้อมภายในและภายนอก องค์กร โดยมีขั้นตอนดังนี้
(1)
การประเมินสภาพแวดล้อมภายในองค์กร
จะเกี่ยวกับการวิเคราะห์และพิจารณาทรัพยากรและความสามารถภายในองค์กร ทุกๆ ด้าน
เพื่อที่จะระบุจุดแข็งและจุดอ่อนขององค์กรแหล่งที่มาเบื้องต้นของข้อมูลเพื่อการประเมินสภาพแวดล้อมภายใน
คือ ระบบข้อมูลเพื่อการบริหารที่ครอบคลุมทุกด้าน ทั้งในด้านโครงสร้าง ระบบ ระเบียบ
วิธีปฏิบัติงาน บรรยากาศในการทำงาน และทรัพยากร (คน เงิน วัสดุ การจัดการ)
ค่านิยมองค์กร รวมถึงการพิจารณาผลการดำเนินงานที่ผ่านมาขององค์กร
เพื่อที่จะเข้าใจสถานการณ์และผลของวิธีการดำเนินการก่อนหน้านี้ด้วย
- จุดแข็งขององค์กร
(S-Strengths)
เป็นการวิเคราะห์ปัจจัยภายในจากมุมมองของผู้ที่อยู่ภายในองค์กรนั้นเองว่าปัจจัยใดภายในองค์กรที่เป็นข้อได้เปรียบหรือจุดเด่นขององค์กรที่องค์กรควรนำมาใช้ในการพัฒนาองค์กรได้
และควรดำรงไว้เพื่อการเสริมสร้างความเข็มแข็งขององค์กร
- จุดอ่อนขององค์กร
(W-Weaknesses)
เป็นการวิเคราะห์ ปัจจัยภายในจากมุมมองของผู้ที่อยู่ภายในจากมุมมอง
ของผู้ที่อยู่ภายในองค์กรนั้น ๆ เองว่าปัจจัยภายในองค์กรที่เป็นจุดด้อย
ข้อเสียเปรียบขององค์กรที่ควรปรับปรุงให้ดีขึ้นหรือขจัดให้หมดไป
อันจะเป็นประโยชน์ต่อองค์กร
(2)
การประเมินสภาพแวดล้อมภายนอก
โดยพิจารณาโอกาสและอุปสรรคทางการดำเนินงานขององค์กรที่จะได้รับผลกระทบจากสภาพแวดล้อมต่างๆ
ได้แก่
•สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจทั้งในและระหว่างประเทศที่เกี่ยวกับการดำเนินงานขององค์กร
เช่น อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ นโยบาย การเงิน การงบประมาณ
•
สภาพแวดล้อมทางสังคม เช่น โครงสร้างประชากร ระดับการศึกษา อัตรารู้หนังสือ
การตั้งถิ่นฐาน การอพยพและการย้ายถิ่น ลักษณะชุมชน ขนบธรรมเนียมประเพณี ค่านิยม
ความเชื่อและวัฒนธรรม
•สภาพแวดล้อมทางการเมือง
เช่น พระราชบัญญัติ พระราชกฤษฎีกา มติคณะรัฐมนตรี
•สภาพแวดล้อมทางเทคโนโลยี
หมายถึง กรรมวิธีใหม่ๆและพัฒนาการทางด้านเครื่องมือ
อุปกรณ์ที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตและให้บริการ
•สถานะสุขภาพ
อัตราการป่วย/ตายด้วยโรคและภัยสุขภาพของประชากร พฤติกรรมทางสุขภาพ
รวมถึงระบบสุขภาพ
•สภาพแวดล้อมทางสิ่งแวดล้อม
เช่น การเปลี่ยนแปลงทางสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ ภูมิอากาศ ระบบนิเวศ
ผลกระทบจากการเกษตร อุตสาหกรรม เป็นต้น
-
โอกาสทางสภาพแวดล้อม (O-Opportunities) เป็นการวิเคราะห์ว่าปัจจัยภายนอกองค์กร
ปัจจัยใดที่สามารถส่งผล กระทบประโยชน์
ทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อการดำเนินการขององค์กรในระดับมหาภาค
และองค์กรสามารถฉกฉวยข้อดีเหล่านี้มาเสริมสร้างให้หน่วยงานเข็มแข็งขึ้นได้
-
อุปสรรคทางสภาพแวดล้อม (T-Threats) เป็นการวิเคราะห์ว่าปัจจัยภายนอกองค์กรปัจจัยใดที่สามารถส่งผล
กระทบในระดับมหภาคในทางที่จะก่อให้เกิดความเสียหายทั้งทางตรงและทางอ้อม
ซึ่งองค์กรจำต้องหลีกเลี่ยง หรือปรับสภาพองค์กรให้มี ความแข็งแกร่งพร้อมที่จะเผชิญแรงกระทบดังกล่าวได้
(3) ระบุสถานการณ์จากการประเมินสภาพแวดล้อม เมื่อได้ข้อมูลเกี่ยวกับ
จุดแข็ง-จุดอ่อน โอกาส-อุปสรรค
จากการวิเคราะห์ปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกด้วยการประเมินสภาพแวดล้อมภายในและสภาพแวดล้อมภายนอกแล้ว
ให้นำจุดแข็ง-จุดอ่อนภายในมาเปรียบเทียบกับ โอกาส-อุปสรรค
จากภายนอกเพื่อดูว่าองค์กร กำลังเผชิญสถานการณ์เช่นใดและภายใต้สถานการณ์เช่นนั้น
องค์กรควรจะทำอย่างไร โดยทั่วไป ในการวิเคราะห์ SWOT ดังกล่าวนี้ องค์กร จะอยู่ในสถานการณ์ 4 รูปแบบดังนี้
ก. สถานการณ์ที่ 1
(จุดแข็ง-โอกาส) สถานการณ์นี้เป็นสถานการณ์ที่พึ่งปรารถนาที่สุด
เนื่องจากองค์กรค่อนข้างจะมีหลายอย่าง ดังนั้น
ผู้บริหารขององค์กรควรกำหนดกลยุทธ์ในเชิงรุก (Aggressive - strategy)
เพื่อดึงเอาจุดแข็งที่มีอยู่มาเสริมสร้างและปรับใช้และฉกฉวยโอกาสต่างๆ
ที่เปิดมาหาประโยชน์อย่างเต็มที่
ข. สถานการณ์ที่ 2
(จุดอ่อน-ภัยอุปสรรค) สถานการณ์นี้เป็นสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุด
เนื่องจากองค์กรกำลังเผชิญอยู่กับอุปสรรคจากภายนอกและมีปัญหาจุดอ่อนภายในหลายประการ
ดังนั้น ทางเลือกที่ดีที่สุด คือ กลยุทธ์ การตั้งรับหรือป้องกันตัว (Defensive
strategy) เพื่อพยายามลดหรือหลบหลีกภัยอุปสรรค ต่างๆที่คาดว่าจะเกิดขึ้น
ตลอดจนหามาตรการที่จะทำให้องค์กรเกิดความสูญเสียที่น้อยที่สุด
ค. สถานการณ์ที่ 3
(จุดอ่อน-โอกาส)
สถานการณ์องค์กรมีโอกาสเป็นข้อได้เปรียบด้านการแข่งขันอยู่หลายประการ
แต่ติดขัดอยู่ตรงที่มีปัญหาอุปสรรคที่เป็นจุดอ่อนอยู่ หลายอย่างเช่นกัน ดังนั้น
ทางออก คือ กลยุทธ์การพลิกตัว (Turnaround-oriented strategy) เพื่อจัดหรือแก้ไขจุดอ่อนภายในต่างๆ ให้
พร้อมที่จะฉกฉวยโอกาสต่างๆที่เปิดให้
ง. สถานการณ์ที่ 4
(จุดแข็ง-อุปสรรค)
สถานการณ์นี้เกิดขึ้นจากการที่สภาพแวดล้อมไม่เอื้ออำนวยต่อการดำเนินงาน แต่ตัวองค์กรมีข้อได้เปรียบที่เป็นจุดแข็งหลายประการ
ดังนั้นแทนที่จะรอจนกระทั่งสภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไป
ก็สามารถที่จะเลือกกลยุทธ์การแตกตัว หรือ ขยายขอบข่ายกิจการ (Diversification
Strategy) เพื่อใช้ประโยชน์จากจุดแข็งที่มีสร้างโอกาสในระยะยาวด้านอื่นๆแทน
4) ข้อพิจารณาในการวิเคราะห์
SWOT
มีดังนี้
(1)
ควรวิเคราะห์แยกแยะควรทำอย่างลึกซึ้ง อยู่บนพื้นฐานของข้อมูลเชิงประจักษ์
เพื่อให้ได้ปัจจัยที่มีความสำคัญจริง ๆ เป็นสาเหตุ หลัก ๆ ของปัญหาที่แท้จริง กล่าวคือ
เป็นปัจจัยที่มีประโยชน์ในการนำไปกำหนดเป็นนโยบาย ตลอดจนสามารถนำไปกำหนดกลยุทธ์
ที่จะทำให้องค์การ/ชุมชนบรรลุเป้าหมายที่เป็นผลลัพธ์ขั้นสุดท้าย (Result)
ได้จริง
(2) การกำหนดปัจจัยต่าง ๆ
ไม่ควรกำหนดของเขตของความหมายของปัจจัยต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น จุดอ่อน (W)
หรือ จุดแข็ง (S) หรือ โอกาส (O) หรือ อุปสรรค (T) ให้มีความหมายคาบเกี่ยวกัน
จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องตัดสินใจ
และชี้ชัดว่าปัจจัยที่กำหนดขึ้นมานั้นเป็นปัจจัยในกลุ่มใด
ทั้งนี้เพราะปัจจัยที่อยู่ต่างกลุ่มกัน
ก็ต้องสมควรที่จะนำไปกำหนดกลยุทธ์ที่ต่างกันออกไป

วิชา
กฎหมายและการประกันคุณภาพการศึกษา
เรื่อง
SWOT
โดย
นางสาวมัสลิน แซ่ลี้
รหัสนักศึกษา
5681114028
สาขาวิชา
ภาษาอังกฤษ คณะครุศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น