วันพฤหัสบดีที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2560

ข้อสอบปลายภาควิชากฎหมายการศึกษา




1. ให้นักศึกษาอธิบาย คำว่า  ศีลธรรม จารีตประเพณี และกฎหมาย เหมือนหรือต่างกันอย่างไร

            ศีลธรรม คือ หลักการแห่งความดีความถูกต้องในพระพุทธศาสนา เป็นประพฤติโดชอบทั้งทางกาย วาจา และจิตใจ ศีลธรรมนี้ไม่บังคับให้มีการประพฤติตามขั้นอยู่จิตใต้สำนึกของผู้ปฏิบัติ
          จารีตประเพณี คือ แบบแผนที่ถือปฏิบัติที่สืบทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่น ซึ่งอาจจะถือปฏิบัติกันเฉพาะกลุ่ม หรือเฉพาะสังคมใดสังคมหนึ่ง และหากมีการฝ่าฝืนก็จะมีการลงโทษตามระเบียบของจารีตประเพณีนั้นๆ
                กฎหมาย คือ ข้อบังคับทางสังคมที่ถูกกำหนดขึ้นอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อให้สังคมเกิดความสงบสุข ทุกคนที่อยู่ในสังคมจะต้องปฏิบัติตาม และหากไม่ปฏิบัติตามผู้นั้นจะถูกลงโทษตามที่กฎหมายได้บัญญัติไว้
          สรุป ศีลธรรม จารีตประเพณี และกฎหมายมีทั้งความเหมือนและความแตกต่างกัน
          ความเหมือน คือ ทั้งศีลธรรม จารีตประเพณี และกฎหมายล้วนเกิดขึ้นเพื่อต้องการให้สังคมนั้นๆมีความสงบสุข ผู้คนที่อยู่ในสังคมสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ
          ความแตกต่าง คือ ศีลธรรม จารีตประเพณี และกฎหมาย มีการบังคับการลงโทษที่ต่างกัน ศีลธรรมผู้ใดจะยึดถือปฏิบัติหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับศรัทธาความเชื่อและจิตสำนึกที่ดีงาม ส่วนจารีตประเพณี ผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามหรือไม่ยอมรับอาจมีการลงโทษ แต่โทษนี้ขึ้นอยู่กับจารีตของแต่ละสังคมนั้นๆ ซึ่งอาจจะถูกหรือผิดก็ได้ และกฎหมายนั้น บังคับว่าทุกคนต้องทำตามหากไม่ทำตามจะถูกลงโทษตามที่ระบุไว้ มากน้อยขึ้นอยู่กับความผิดทีเกิดขั้น

2. คำว่าศักดิ์ของกฎหมาย คืออะไร  มีการจัดอย่างไร  โปรดยกตัวอย่าง รัฐธรรมนูญ คำสั่งคณะปฏิวัติ  คำสั่ง คสช. พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา พระราชบัญญัติ เทศบัญญัติ พระบรมราชโองการ กฎกระทรวง 

            ศักดิ์ของกฎหมาย คือ ลำดับชั้นของกฎหมาย กฎหมายมีหลายประเภทซึ่งอาจจะมาจากการบัญญัติกฎหมายของแต่ละองค์กร ดังนั้นลำกับชั้นของกฎหมายจึงกำหนดไว้ว่า หากผู้ที่บัญญัติกฎหมายนั้นมีการบัญญัติกฎหมายที่ขัดแย้งต่อกฎหมายของผู้ที่มีตำแหน่งสูงกว่านั้น กฎหมายนั้นจะไม่สามารถบัญญัติขึ้นได้
          การจัดการกับศักดิ์ของกฎหมาย จะมีการแบ่งลำดับชั้นเพื่อให้เกิดความชัดเจนในการบัญญัติกฎหมายขั้น ซึ่งลำดับชั้นของกฎหมายนี้สามารถแบ่งได้ออกเป็น 7 ประเภทดังนี้
                                1.รัฐธรรมนูญ  เป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ  กฎหมายใดขัดแย้งไม่ได้  โดยจะมีเนื้อหาเกี่ยวกับการใช้อำนาจอธิปไตย  ความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันการเมือง  สิทธิเสรีภาพของประชาชน
                   2. พระราชบัญญัติ  ประมวลกฎหมาย เป็นกฎหมายที่รัฐสภาตราขึ้น
                    3. พระราชกำหนด  เป็นกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรีตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญใช้ในกรณีจำเป็นรีบด่วนหรือเรื่องที่จะรักษาความมั่นคงในทางเศรษฐกิจความปลอดภัยของประเทศ  แต่ต้องเสนอต่อรัฐสภาโดยเร็ว
                   4. พระราชกฤษฎีกา  เป็นกฎหมายที่ตราขึ้นโดยพระมหากษัตริย์ตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี  เพื่อกำหนดรายละเอียดตามพระราชบัญญัติที่กำหนดไว้
                   5. กฎกระทรวง  เป็นกฎหมายที่รัฐมนตรีตราขึ้นผ่านคณะรัฐมนตรีเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติหรือพระราชกำหนด
                   6. ข้อบังคับหรือข้อบัญญัติ เป็นกฎหมายขององค์กรปกครองท้องถิ่น เช่น เทศบาล กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา เป็นต้น
                   7. ประกาศคำสั่ง  เป็นกฎหมายเฉพาะกิจ  เช่น พระบรมราชโองการ ประกาศคณะปฏิวัติ  คำสั่งหน่วยงานราชการ  เป็นต้น
         
          ตัวอย่างการจัดลำดับ
                   1. รัฐธรรมนูญ คำสั่งคณะปฏิวัติ คำสั่ง คสช.
                   2. พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด พระบรมราชโองการ
                   3. พระราชกฤษฎีกา
                   4. เทศบัญญัติ

3. แชร์กันสนั่น ครูโหดทุบหลังเด็กซ้ำ เหตุอ่านหนังสือไม่ได้
ตามรายงานระบุว่า ผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อ "กวดวิชา เตรียมทหาร" ได้แชร์ภาพและข้อความที่เกิดขึ้นกับเด็กชายคนหนึ่ง ภาพดังกล่าวเผยให้เห็นสภาพแผ่นหลังของเด็กที่มีรอยแดงช้ำ โดยเจ้าของภาพได้โพสต์ไว้ว่า
          "วันนี้...ลูกชายวัย 6 ขวบ อยู่ชั้น ป.1 ถูกครูที่โรงเรียนตีหลังมา สภาพแย่มาก..(เหตุผลเพราะอ่านหนังสือไม่ค่อยได้) ซึ่งคนเป็นแม่อย่างเรา เห็นแล้วรับไม่ได้เลย มันเจ็บปวดมาก...มากจนไม่รู้จะพูดอย่างไรดี น้ำตาแห่งความเสียใจมันไหลไม่หยุด ถ้าเลือกได้ก็อยากจะเจ็บแทนลูกซะเอง พาลูกไปหาหมอ หมอบอกว่า แผลที่ร่างกายเด็กรักษาหายได้ แต่แผลที่จิตใจเด็กที่ถูกทำร้าย โดนครูทำแบบนี้ มันยากที่จะหาย บาดแผลนี้มันจะติดที่..หัวใจ..ของน้องตลอดไป" จากข้อความดังกล่าวในฐานะนักศึกษาเรียนวิชากฎหมายการศึกษาคิดอย่างไรที่จะไม่ให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าว ซึ่งทุกคนจะต้องไปเป็นครูในอนาคตอันใกล้นี้  ให้อภิปรายแสดงความคิดเห็นปรากฏการดังกล่าวนี้ 

            ตามข่าวระบุว่าครูตีเด็กเหตุเพราะว่าอ่านหนังสือไม่ออก สำหรับหน้าที่ของครูแล้ว ครูมีหน้าที่สอน พัฒนาให้ผู้เรียนมีศักยภาพเต็มความสามสามารถของตัวผู้เรียนเอง หากผู้เรียนไม่สามารถทำได้ครูก็จะต้องเป็นคน ออกแบบการเรียนการสอนแบบใหม่ๆเพื่อให้เหมาะกับตัวผู้เรียนไม่ใช่โทษผู้เรียน จนถึงกระทั่งทุบหลังนักเรียนจนบาดเจ็บ ด้วยเหตุนี้อาจจะเป็นเพราะครูไม่สามารถระงับอารมณ์โกรธของตนเองได้ การกระทำดังกล่าวถือเป็นส่งที่ผิด
          ผิดต่อจรรยาบรรณครู ในด้านจรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ ข้อ 3 ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องรัก เมตตา เอาใจใส่ ช่วยเหลือ ส่งเสริม ให้กําลังใจแก่ศิษย์ และผู้รับบริการ ตามบทบาทหน้าที่โดยเสมอหน้า และยัง
          ผิดต่อระเบียบการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งมีการยกเลิกการลงโทษการเฆี่ยนตีมาถึง 10 ปี ด้วยการออกระเบียบของกระทรวง ว่าด้วยการลงโทษนักเรียน พ.ศ.2548 ข้อที่ 6 ที่ว่าห้ามลงโทษนักเรียนและนักศึกษาด้วยวิธีรุนแรง หรือแบบกลั่นแกล้ง หรือลงโทษด้วยความโกรธ หรือด้วยความพยาบาท โดยให้คำนึงถึงอายุของนักเรียนหรือนักศึกษา และความร้ายแรงของพฤติการณ์ประกอบการลงโทษด้วย การลงโทษนักเรียนหรือนักศึกษาให้เป็นไปเพื่อเจตนาที่จะแก้นิสัยและความ ประพฤติไม่ดีของนักเรียนหรือนักศึกษาให้รู้สำนึกในความผิด และกลับมาประพฤติตนในทางที่ดีต่อไปให้ผู้บริหารโรงเรียนหรือสถานศึกษา หรือผู้ที่ผู้บริหารโรงเรียนหรือสถานศึกษามอบหมายเป็นผู้มีอำนาจในการลงโทษ นักเรียน นักศึกษา

4. ให้นักศึกษา สวอท.ตัวนักศึกษาว่าเราเป็นอย่างไร 

            จุดแข็ง (S)
                   1. ตั้งใจฟังอาจารย์เวลาอาจารย์บรรยาย
                    2. รับผิดชอบต่อภาระงานที่รับมอบหมายอย่างเต็มความสามารถ
                   3. ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นเสมอ
                   4. สามารถแก้ไขเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้าได้ดี
                   5. มีความกล้าแสดงออก           
          จุดอ่อน (w)
                    1. ขาดความรอบคอบในการทำงาน
                   2. ตัดสินใจไม่เด็ดขาด
                   3. มักจะลืมเนื้อหาที่เรียนไปแล้ว เมื่อต้องเรียนเรื่องใหม่
                   4. ไม่ชอบอ่านหนังสือ

          โอกาส (o)
                   1. นำความรู้ที่มีใช้ในการดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข          
                   2. เนื้อหาที่เรียนในปัจจุบันมีประโยชน์มากต่อการทำงานในอนาคต
                   3. สามารถสอบถาม หรือแก้ข้อสงสัยโดยการสอบถามอาจารย์ได้ตลอด
                    4. มีประสบการณ์การทำงานร่วมกับผู้อื่นในกลุ่ม
          อุปสรรค (T)
                   1. มีความจำที่สั้น
                   2. เข้าใจยาก
                   5. ใช้เวลานานในการทำงาน

5. ให้นักศึกษาวิจารณ์อาจารย์ผู้สอนวิชานี้ในประเด็นการสอนเป็นอย่างไร บอกเหตุผล มีข้อดีและข้อเสีย

          มีข้อดี
                   อาจารย์ผู้สอนมีความคิดที่ทันสมัย ให้นักศึกษาได้ศึกษาด้วยการใช้เทคโนโลยี มีการทำงานและส่งงานผ่านระบบอินเทอร์เน็ตออนไลน์ ทำให้มีความสะดวกเป็นอย่างมาก อีกทั้งอาจารย์ยังส่งเสริมให้นักศึกษามีการสืบค้นข้อมูลด้วยตนเองทำให้นักศึกษาสามรถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองตลอดเวลา
          ข้อเสีย
                      อาจารย์มีภาระงานเยอะ ต้องสอนนักศึกษาหลายระดับอาจจะทำให้มีบ้างที่มีอุปสรรคเรื่องเวลา

อนุทินที่ 8



แนวคิดและหลักการของการวางแผนเชิงกลยุทธ์
การกำหนดวิสัยทัศน์ ภารกิจ วัตถุประสงค์และเป้าหมาย
เรื่องการวางแผนเชิงกลยุทธ์ SWOT
Strategic Planning
อาจารย์ ดร.วนิดา  ชุมนุม

วันจันทร์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2560

อนุทินที่ 7



ตอบคำถามต่อไปนี้ (1-3 พ.ร.บ.ภาคบังคับ, 4 พ.ร.บ.บริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ) ลงในบล็อกของนักศึกษา

วันพฤหัสบดีที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2560

อนุทินที่ 6



นางสาวมัสลิน  แซ่ลี้ รหัส 5681114028
คณะครุศาสตร์ สาขาภาษาอังกฤษ
แบบฝึกหัดทบทวนบทที่ 3

วันพฤหัสบดีที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2560

อนุทินที่ 5



ข่าวเกี่ยวกับศาสนา
หลวงพี่เลือดร้อน ต่อยเจ้าหน้าที่ เหตุโดนห้ามเรี่ยไรเงินประชาชน